ภาพกิจกรรมการเชิดหุ่น

ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลสามเสน

ภาพกิจกรรมศิลปะ

กิจกรรมนี้เป็นนี้บิดลูกโปร่ง ซึ่งอาจารย์ได้ให้พี่ๆ มาสอนทำ

ภาพกิจกรรมศิลปะ2

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนการสอน

เทคนิคการสอนภาษา
การฟังและการการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ

แนวคิดพื้นฐาน
1.ต้องรู้ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
2.ประสบการณืทางภาษาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
3.เชื่อว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้
4.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้าสอนเเบ whole Language
5.เด็กจะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้ตัดสินใจด้วยตนเอง
6.ให้เด็กรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
7.ไม่ให้เด็กรู้สึว่าถูกเเข็งขัน
8.ครูต้องสอนทักษะไปพร้อมๆกัน
9.ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
1.เริ่มจากสิ่งที่เด็กสนใจ
2.ใช้การประเมินที่เหมาะสม
3.เสนอความคิดต่อผู้กครอง
4.ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้อย่างกระตือร้น
5.สร้างความรู้สึกสำเร็จ
6.ให้เด็กได้อ่านในสิ่งที่คุ้นเคย
7.อ่านให้เด็กฟังจากแหล่งต่างๆ
8.จัดปะสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือกระทำ
9.ส่งเสริมให้เด็กรู้จจักเสี่ยง
10.พัฒนาทางด้านจิตพิสัย

ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการพูด
- อธิบายหรือเล่าถึงภาพที่เห็น
-ทำท่าทางประกอบการพูด-เล่านิทาน
-ลำดับเรื่องตามนิน
-เรียงชื่อตามนิทาน
-เรียกชื่อและอธิบายลักษณะสิ่งของ
-จำและอธิบายสิ่งของ
-อธิบายขนาดและสีของสิ่งของ


ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง
- ฟังประกอบหุ่น
-ฟังและเเยกเสียง
-ฟังเสียงคำคล้องจอง
-ฟังอย่างสร้างสรรค์และวิจารณ์

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บันทึกการเข้าเรียน

1.การบูรณาการสอนภาษาในกิจกรรมต่างๆ
- กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะสามารถสอนภาษาเด็กได้คือ ให้เด็กได้พูด และฟัง ในการทำกิจกรรม
-กิจกรรมสร้างสรรค์ สามาถสอนโดยให้เด็กอธิบายภาพหรือผลงานที่เด็กทำ จะทำให้เด็กได้ทักษาะคือ ฟัง พูด อ่าน เเละเขียน
-กิจกรรมกลางเเจ้ง สามารถสอนให้เด็กในเรื่องของการฟังข้อปฏิบัติ ข้อตกลง
-กิจกรรมเกมการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
1. เกมจับคู่ จะใช้ได้หลายเวลา เช่นในขั้นสอน ขันสรุป
2.จิ๊กซอร์
3.โดมิโน
4.เรียงลำดับคือภาพที่มีมิติสัมพันธ์
5.อนุกรม
6.ล็อตโต้คือศึกษาภาพที่มีรายละเอียด
7.พื้นฐานการบวก
** กิจกรรมเกมการศึกษาสามารถใช้ได้ในหลายเวลาเช่นในขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป ได้- การสอนภาษาอาจสอนได้ในเวลา เช้าคือการรับเด็ก การเคารพธงชาติ เป็นต้า

2.จุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรม
-เพื่อการสื่อสาร
-เพื่อให้เด็กได้เห็นเป็นแบบอย่าง

3.บทบาทของครู
- อำยวยความสะดวก
-จัดเตรียมแผนการสอน
-จัดเตรียมกิจกรรม

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่6

การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยจัดพื้นที่ภายในห้องเรียน
ที่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้
สร้างประสบการณ์และความพร้อมในแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่มตามความสนใจ
การจัดห้องเรียนควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ
สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ
โดยเด็กสามารถเข้าไปเรียนรู้ ซึมซับอย่างอิ่มเอิบไปด้วยภาษาไตลอดเวลา
การจัดสภาพแวดล้อมในมุมของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอย่างมีความหมายต่อเด็ก
มุมบ้าน
เด็กจะเข้ามาในบ้านพูดคุยเล่นกัน มีการสื่อสารระหว่างกันทำกิจกรรมต่างๆ
เช่น ล้างชามในครัว ซึ่งช่วยให้เด็กพัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้จากเพื่อน เตรียมกระดาษดินสอ
มุมหมอ
มุเด็กจะได้เล่นบทบาทสมมุตรเป็นหมอ เป็นคนไข้ ฝึกการใช้ภาษาในการอธิบาย
อาการป่วยไข้ ใช้ภาษาสื่อสารกับคุณหมอ พยาบาล มีการนัดหมายกับหมอ
โดยการจดการนัดหมายไว้ในสมุดคนไข้
มุมจราจร
เด็กด้เรียนรู้กฎจราจร การปฎิบัติตามสัญลักษณ์ ป้ายบอกทางต่างๆ
รู้จักทิศทาง ซ้าย-ขวา การแสดงบทบาทต่างๆ
มุมที่ดีคือมุมที่ครูจัดสภาพแวดล้อม จัดวางกระดาษดินสอ สื่อ อุปกรณ์
หนังสือ ขั้นตอนการแนะนำให้ชัดเจน เด็กจะเข้าไปเรียนรู้
โดยที่เด็กต้องการและไม่ต้องการความช่วยเหลือจากครู
เด็กสนทนาหรือหัดเขียน ในสิ่งที่ผู้ใหญ่อาจไม่เข้าใจ
บทบาทของครู
เชื่อมโยงประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่เดิมให้สัมพันธ์กับกิจกรรมที่จัดขึ้น
ซึ่งอาจเป็นการเล่าเรื่องที่เด็กเคยพบเห็น
การเปิดโอกาสให้เด็กพูดจากความคิด
หรือประสบการณ์ในขณะฟังเรื่องจากหนังสือที่ครูเลือก
และจัดหาหนังสือที่เหมาะกับวัยไว้ในชั้นเรียน
เพื่อให้เด็กมีโอกาสหยิบมาอ่านหรือพลิกดูเสมอ
เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับภาพความคิดและตัวหนังสือ
บรรยากาศการสอนแนวใหม่
เด็กจะแสดงความต้องการให้ครูเห็นว่าเขาต้องการเขียน
สิ่งที่มีความหมายสิ่งที่เขายากบอกให้ผู้อื่นเข้าใจ
การเขียนระยะแรกจึงเป็นการที่เด็กสร้างความคิด
ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ของเด็กและความต้องการ
สื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบเด็กจะเขียนเส้นขยุกขยิก
คล้ายตัวหนังสือหรือเขียนสะกดบางคําได้แต่ยังไม่ถูกต้อง

การประเมินผล
ครูพิจารณาจากการสังเกตุ การบันทึก การเก็บร่องรอยทางภาษาของเด็ก ขณะทำกิจกรรมต่างๆ และสะสมชิ้นงานเป็นการประเมินการเรียนรู้จากสภาพจริง และจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กมากว่าการใช้เเบบทดสอบทางภาษา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่5

ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวมอ่าน

– เขียน เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรมชาติ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถูกต้องทั้งหมดมีหนังสือ วัสดุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้เด็กเป็นผู้เลือก เพื่อได้รับประสบการณ์ทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสือการเปิดหนังสืออย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย ซักถามจากประสบการณ์เดิมซึ่งครูสามารถประเมินความสามารถการอ่านของเด็กแต่ละคนไปด้วยพร้อมกัน ให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสเลือกอ่านหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบ ๆ
-ให้เด็กได้เขียน ขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์ ความประทับใจ อย่างอิสระ ครูตรวจสอบสภาพการเขียนของเด็กแต่ละคนโดยการให้เด็กเล่าสิ่งที่เขียนหรือวาดให้ครูฟัง โดยครูอาจแนะนำการเขียนที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กพัฒนาการเขียนได้ด้วยตัวเด็กเองทุกวันโดยไม่มุ่งแก้คำผิดหรือทำลายความอยากเขียนของเด็ก


ความเชื่อมโยงภาษาพูดกับภาษาเขียน

ภาษาพูดกับภาษาเขียนมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันโดย ความรู้เกี่ยวกับคำจะเพิ่มพูนมากขึ้นเมื่อเราพูด เล่า สนทนาโต้ตอบกัน เราอ่านจากหนังสือประเภทต่าง ๆ อ่านจากป้ายในทุกหนทุกแห่งที่สนใจ จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวต่างๆไปพร้อมๆกันและช่วยให้เด็กมี ความรู้เพิ่มพูนขึ้น ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้น ด้วยการพูดคุยกับพ่อแม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เพื่อการสื่อสาร หรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไป เด็กจะมองตามตัวหนังสือและมักจะพยายามหาความหมายไปด้วยจากภาพหรือจากตัวหนังสือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการรู้หนังสือ…และอาจารย์ยังได้เสริมถึงเรื่องกิจกรรมที่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเรียนรู้ทางภาษาได้เช่น1.การเล่าสิ่งที่ตนเองรัก2.การเล่าข่าวหรือกิจกรรมที่ตนเองได้ไปพบเจอมา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

กระบวนการเรียน
บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของการร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไร ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาไดอย่างไร
การวางแผนจะมีทั้งระยะยาว( long- range plans) เพื่อวางกรอบความคิดกว้าง
การวางแผนระยะสั้น(shot- range plans) โดยเด็กและครูจะใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดและขั้นตอนในการทำกิจกรรม
การฟังและพูดของเด็ก
เด็กมีโอกาสได้ยินเสียงแม่พูด แม้ว่ายังพูดไม่ได้
เด็กเกิดการเรียนรู้ภาษาพูดเพราะการสอนเด็กใหพูดนั้นเด็กจำเป็นต้องได้ยิน ได้ฟังภาษาพูดก่อน ยิ่งได้ฟังมากจะเข้าใจชัดเจนขึ้น
เด็กวัย 2-3 ขวบการพูดของแม่จะช่วยให้ลูกมีพพัฒนาการทางภาษาที่ดี การสนทนา การวักถาม เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันเป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ในด้านการเข้าใจความหมายของภาษาจากเรื่องง่าไปหาเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อนมากขึ้น

ภาษามีบทบาทในการสื่อสารความคิดรวมไปถึงจินตนาการ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี

การอ่านและเขียนของเด็ก

การอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นในการให้โอกาสเด็กเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเขียน ขณะที่อ่านควรชี้นิ้วตามตัวหนังสือไปด้วย ทำให้เด็กเรียนรู้กฏเกณฑ์ทุกขั้นตอน สิ่งที่สำคัญคือ การให้เด็กเรียนรู้ที่จะเข้าใจประเด็นในเรื่องท่อ่านว่าสิ่งที่ประกอบกันขึ้นคือรวมทั้งหมดที่เป็นเนื้อหาที่นำเสนอระบบการคิดผ่านไวยากรณ์ของภาษา
ควรสนทนากับเด็กเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางภาษาอย่างง่ายๆ เนื้อหาที่อ่านควรสัมพันธ์กับสิ่งๆรอบตัว และพยายามเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของเด็กตลอดเวลาเพื่อให้เห็นประโยชน์และความเกี่ยวพันของภาษาเขียนกับชีวิตจริง
จึงกล่าวได้ว่า การเขียน หมายถึง การสื่อสารเพื่อแสดงความคิดความรู้สึกออกมาอย่างความหมาย
การเขียนและการอ่านจะดำเนินการไปพร้อมกัน เนื่องจากการเป็นนักเขียนที่ดีนั้นต้องอาศัยการอ่านที่แตกฉานในเรื่องนั้นๆ ส่วนการฝึกฝนให้เด็กเขียนหนังสือนั้น ครูต้องตระหนักว่าการฝึกเขียรที่ให้ลอกเลียนแบบโดยเด็กไม่ได้ใช้ความคิดเเตเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมือหรือฝึกเฉพาะความสวยงามของลายมือแตกต่างโดยสิ้นเชิงกัการเขียนที่มาจากความคิด
ภาษาที่ได้จากกาฝึกคิดและการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นภาษาสัญลักษณ์ คือ ตัวอัการอย่างธรรมชาติจากการฟังมากได้อ่านมาก จนสามารถถ่ายทอดเองได้ และมาฝึกฝนความถูกต้อง สวยงามภายหลัง่วนการอ่านนั้นสามารถทำได้ตลอดเวลาด้วยการอ่านจากหนังสือ ถนน สิ่งรอบตัว
ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กให้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่ เป็นกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายร่วมกัน ในการกรรับฟังและการตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่รู-เด็กเยนร่วมกัน หรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเอง


ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทงภาษาแบบองค์รวม

อ่าน-เขียน

- เน้นความเข้าใจเเน้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือผ่านการฟังนิทาน เรื่องราวสนทนาโต้ตอบ คิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
- การคาดคะเนโดยการเดาในขระเขียน อ่าน และสะกด เป็นสิ่งที่ได้รับในการเรียนรู้ภาษาธรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือสะกดถุดฃกต้องทั้งหมด

ในการเรียนในวันนี้ก้พอที่จะสรุปได้เพียงเท่านี้ และนอกจากเรียนเนื้อหาในเรื่องนี้แล้วอาจารยืยังมีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และประสบการณืต่างๆที่อาจารย์ได้ประสบพบเจอมาให้ได้ฟังิด้วยเช่น

สื่อที่นำเข้าสู่บทเรียน
- เพลง
- คำถาม
- คำคล้องจอง
- นิทาน
- เกม
- อื่นๆ